วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การปลูกพืชหมุนเวียน




การปลูกพืชหมุนเวียน


การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการใช้พื้นที่แต่ละส่วนปลูกพืชแต่ละชนิดแล้วหมุนเวียนเปลี่ยนพืชไปในพื้นที่ทีละส่วน
หลักของการปลูกพืชหมุนเวียนมีเพื่ออนุรักษ์ดินและรักษา ธาตุอาหารในดินให้สมดุล พืชแต่ละชนิด กินอาหาร ต่างกันด้วย และสร้างธาตุอาหารที่ต่างกันด้วย การปลูกพืชหมุนเวียน หลายชนิดในพื้นดิน จะทำให้การใช้ธาตุอาหาร และการสร้างธาตุอาหารสมดุล การหมุนเวียนนี้ จะทำในลักษณะค่อยเป็น ค่อยไปก็ได้ วิธีการที่จะทำ แบบค่อยเป็น ค่อยไป จะง่ายที่สุด และเข้าใจได้ง่ายๆ ในระยะเริ่มต้น เราก็มีหลักอยู่ว่า เราแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ เราจะมีพื้นที่ เท่าไหร่ก็ตาม ถ้าจะเป็น ๔ ส่วน เราก็จะกำหนดตัวพืช ๔ ชนิด
ถ้าเราต้องการปลูกพืช ๕ ชนิด เราก็แบ่งพื้นที่เป็น ๕ ส่วน ถ้าเราแบ่งพื้นที่เป็น ๑๐ ส่วน แต่ใช้พืช ๕ ชนิด เราก็จะหมุนเวียนปลูกพืช โดยแปลงที่ ๑ กับแปลงที่ ๖ ใช้พืชชนิดเดียวกัน แปลงที่ ๒ กับแปลงที่ ๗ และแปลงที่ ๓ กับแปลงที่ ๘ ในการปลูกรอบ ๒ พืชที่เคยปลูกที่แปลงที่ ๑ เราก็นำไปปลูกในแปลงที่ ๒ ที่เคยปลูกในแปลงที่ ๖ ก็ปลูกในแปลงที่ ๗ เพราะฉะนั้น พืชหมุนเวียนได้ ๕ ชุด
จากคำแนะนำของ บิล มอลลิสัน ในการปลูกพืชผัก ก็คือ ก่อนที่จะลงพืชใดในที่ดิน ให้นำแทรกเตอร์ไก่ หรือ แทรกเตอร์หมู ที่เราเลี้ยงไว้ มาทำความสะอาดพื้นที่ก่อน ไก่และหมู จะเก็บกินเศษซากพืช ตัวแมลงศัตรูพืช และรากต้นไม้ต่างๆ จนดินสะอาด และเมื่อได้ทำความสะอาดพื้นที่ ในแปลงที่ ๑ แล้ว พืชชนิดแรกที่จะปลูก ควรเป็นพืชใบเขียว ที่เป็นพืชใบห่อ เป็นหัว เช่น กะหล่ำปลี เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราลงพืชที่ใบห่อ เป็นหัวในแปลงที่ ๑ เราก็ต้องทำ ความสะอาด พื้นที่ในแปลงที่ ๒ พอทำความสะอาดเสร็จ ก็ลงพืชที่ห่อใบเป็นหัว ในแปลงที่ ๒ ในขณะที่แปลงที่ ๑ จะเปลี่ยนเป็นลงพืช ที่หัวฝังอยู่ในดิน ซึ่งมีใบสีเขียวอยู่บนดิน เช่น มันเทศ เผือก ซึ่งในแปลงนี้ ในการปลูกครั้งต่อไป เราก็จะปลูกพืชอย่างอื่นอีก เป็นต้นว่า ข้าวโพด พริก กล้วย มะละกอ ฯลฯ
จังหวะของการทำกิจกรรมปลูกพืชในแต่ละแปลง จะไล่กันไปเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ว่ามีมากแปลง ก็จะปลูกพืช ได้มากชนิด ถ้ามีมากกว่า ๕ แปลง พืชปิดท้าย ควรจะเป็นตระกูลถั่วสัก ๒ รายการ นอกเสียจากว่า เราจะเลือกพืชผัก ตระกูลถั่ว ลงในรายการอื่นแล้ว
การให้น้ำ ก็ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการพืชผักตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่ ถ้าเรารดน้ำ ก็จะได้ผลผลิตตามกำหนด เพราะพืชผัก แต่ละชนิด จะมีอายุเก็บกินได้ ถ้าเราต้องการตามกำหนด เราก็ต้องรดน้ำ การกำหนดพืชผัก จะต้องศึกษา ฤดูกาล อายุ ระยะเวลาให้ผลผลิต ของผักชนิดนั้นๆ ด้วย อนึ่ง ผักแต่ละชนิด จะให้ธาตุอาหาร และผลิตธาตุอาหาร ต่างกัน ในรายละเอียด ดินที่จะสมบูรณ์ จะต้องมีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารย่อย การเลือกพืชผักลงดิน ก็จะต้องคำนึง ด้วยว่า พืชจะช่วยสร้างไนโตรเจน โปแตสเซียม ฟอสเฟต จะต้องมีเหล็ก มีสังกะสี หรือธาตุอาหารอื่นๆ อยู่ในดิน ธาตุอาหารเหล่านี้ มาจากพืชที่เราปลูกลงไป พืชเหล่านี้ จะสร้างธาตุอาหารเหล่านี้ ทิ้งไว้ในดิน การปลูกพืชชนิดเดียว จึงเป็นการทำลายดิน และทำลายสมดุล ของสิ่งแวดล้อม เราทดลองทำได้ ที่ไหนก็ได้ ทำกันในวงเล็กๆ ก่อน เมื่อเห็นว่า มันได้ประโยชน์ เราก็ขยายเป็นวงใหญ่ ขยายพื้นที่ทำเท่าไหร่ก็ได้
ในพื้นดินต้องมีความชุ่มชื้นเพียงพอสำหรับพืชและถ้าต้องการผลผลิตตามกำหนด จะต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอ สมัยนี้ ก็มีขาตั้งวางสายยางฉีดน้ำ แบบสปริงเกอร์ ซึ่งยกได้ จะยกไปตั้งที่ไหนก็ได้ เอาไปฉีดตรงไหนก็ได้ เพราะฉะนั้น สมัยนี้ ความสะดวก ในการจัดการน้ำ มีมากขึ้น และในฤดูฝน หรือบางฤดูกาล ก็ไม่ต้องให้น้ำเลย การจัดการกำหนด รูปแบบพื้นที่ จะช่วยลดปริมาณน้ำ และช่วยประหยัด พลังงานน้ำได้
ในพื้นที่ที่มีการปลูกพืชผักอย่างต่อเนื่อง พื้นดินมีความชุ่มชื้น และมีเศษซากพืชมาก จะมีสภาพที่เอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต และเจริญเติบโต ของไส้เดือนฝอย ซึ่งจะทำลายระบบรากของผัก ที่เราปลูก ก่อนทำความสะอาด เมื่อจะเริ่มปลูกผักรอบ ๒ จึงควรหว่านเมล็ดปอเทือง ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว ที่จะช่วยกำจัด ไส้เดือนฝอย ในดินของเรา ได้เป็นอย่างดี
การปลูกข้าวอย่างเดียวซ้ำในพื้นที่เดิม อาจทำให้มีการสะสมของวัชพืชบางชนิด ถ้ามีการปลูกพืชอื่นสลับกับข้าวแบบก่อนหรือหลังนาจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ทำให้วัชพืชบางชนิดที่ไม่ชอบสภาพแวดล้อมอีกแบบหนึ่ง ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เช่น การปลูกพืชปุ๋ยสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน ปอเทือง และถั่วพร้า ก่อนปลูกข้าวจะช่วยลดปัญหาวัชพืชในนาข้าวที่ปลูกตามมาให้น้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น: